สาระน่ารู้

ปฏิกิริยาแห่ง อายตนะทั้ง ๖ นั้น มีอะไรบ้าง

อายตนะ อ่านว่า -อา-ยะ-ตะ-นะ- แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ คือ สิ่งที่เป็นสื่อ ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมา

เมื่อ อายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ เกิดการ “สัมผัส” กับ รูป รส กลิ่น เสียง การสัมผัส
ทางกาย และทางใจ ที่ทำให้เรามีความรู้สึกจากความคิด คำว่า “สัมผัส” หรือ ผัสสะ คือ ความกระทบ,
ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ.ซึ่งจะมีด้วยกัน ๖ ประการดังนี้
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
————————————————————————————————————————
++++++++++++++++++++++++++++
๑. จักขุสัมผัส คือ ความกระทบทางตา คือ ตา + รูป + จักขุวิญญาณ (ประสาทตารับรู้สิ่งที่เห็น)
แล้วนำไปปรุงแต่งเป็น “สังขารขันธ์” ที่ใจ เกิดเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ขึ้นมาเป็น เวทนาขันธ์ ความรู้สึกนี้
จะเป็นตัณหา “ก่อเจตนา” ให้คนเรา เกิดพฤติกรรมได้ทั้ง กุศล และ อกุศล หรือ วางอุเบกขาอย่างผู้รู้ทัน
ซึ่งจะเกิดอะไรต่อไปอีกนั้น ย่อมอยู่ที่ “ปัญญาบารมีของผู้ที่ฝึกฝนตนเอง” ว่ามามากหรือน้อยเพียงใด
++++++++++++++
๒. โสตสัมผัส คือ ความกระทบทางหู คือ หู + เสียง + โสตวิญญาณ (ประสาทหูรับรู้สิ่งที่ได้ยิน)
แล้วนำไปปรุงแต่งเป็น “สังขารขันธ์” ที่ใจ เกิดเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ขึ้นมาเป็น เวทนาขันธ์ ความรู้สึกนี้
จะเป็นตัณหา “ก่อเจตนา” ให้คนเรา เกิดพฤติกรรมได้ทั้ง กุศล และ อกุศล หรือ วางอุเบกขาอย่างผู้รู้ทัน
ซึ่งจะเกิดอะไรต่อไปอีกนั้น ย่อมอยู่ที่ “ปัญญาบารมีของผู้ที่ฝึกฝนตนเอง” ว่ามามากหรือน้อยเพียงใด
+++++++++++++++++++++
๓. ฆานสัมผัส คือ ความกระทบทางจมูก คือ จมูก + กลิ่น + ฆานวิญญาณ (ประสาทจมูกรับรู้กลิ่น)
แล้วนำไปปรุงแต่งเป็น “สังขารขันธ์” ที่ใจ เกิดเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ขึ้นมาเป็น เวทนาขันธ์ ความรู้สึกนี้
จะเป็นตัณหา “ก่อเจตนา” ให้คนเรา เกิดพฤติกรรมได้ทั้ง กุศล และ อกุศล หรือ วางอุเบกขาอย่างผู้รู้ทัน
ซึ่งจะเกิดอะไรต่อไปอีกนั้น ย่อมอยู่ที่ “ปัญญาบารมีของผู้ที่ฝึกฝนตนเอง” ว่ามามากหรือน้อยเพียงใด
+++++++++++++++++++

๔. ชิวหาสัมผัส คือ ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น + รส + ชิวหาวิญญาณ (ลิ้นได้รับรสที่ลิ้มนั้น ๆ)
แล้วนำไปปรุงแต่งเป็น “สังขารขันธ์” ที่ใจ เกิดเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ขึ้นมาเป็น เวทนาขันธ์ ความรู้สึกนี้
จะเป็นตัณหา “ก่อเจตนา” ให้คนเรา เกิดพฤติกรรมได้ทั้ง กุศล และ อกุศล หรือ วางอุเบกขาอย่างผู้รู้ทัน
ซึ่งจะเกิดอะไรต่อไปอีกนั้น ย่อมอยู่ที่ “ปัญญาบารมีของผู้ที่ฝึกฝนตนเอง” ว่ามามากหรือน้อยเพียงใด
++++++++++++++++++
๕. กายสัมผัส คือ ความกระทบทางกาย คือ กาย + โผฏฐัพพะ + กายวิญญาณ (กายรับรู้สัมผัส)
แล้วนำไปปรุงแต่งเป็น “สังขารขันธ์” ที่ใจ เกิดเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ขึ้นมาเป็น เวทนาขันธ์ ความรู้สึกนี้
จะเป็นตัณหา “ก่อเจตนา” ให้คนเรา เกิดพฤติกรรมได้ทั้ง กุศล และ อกุศล หรือ วางอุเบกขาอย่างผู้รู้ทัน
ซึ่งจะเกิดอะไรต่อไปอีกนั้น ย่อมอยู่ที่ “ปัญญาบารมีของผู้ที่ฝึกฝนตนเอง” ว่ามามากหรือน้อยเพียงใด
++++++++++++++++++++++
๖. มโนสัมผัส คือ ความกระทบทางใจ คือ ใจ + ธรรมารมณ์ + มโนวิญญาณ (ใจที่คิดไปเอง)

แล้วนำไปปรุงแต่งเป็น “สังขารขันธ์” ที่ใจ เกิดเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ขึ้นมาเป็น เวทนาขันธ์ ความรู้สึกนี้
จะเป็นตัณหา “ก่อเจตนา” ให้คนเรา เกิดพฤติกรรมได้ทั้ง กุศล และ อกุศล หรือ วางอุเบกขาอย่างผู้รู้ทัน
ซึ่งจะเกิดอะไรต่อไปอีกนั้น ย่อมอยู่ที่ “ปัญญาบารมีของผู้ที่ฝึกฝนตนเอง” ว่ามามากหรือน้อยเพียงใด


credit : https://www.facebook.com/sutat.eaka/posts/1542731145775038
credit : facebook.com/boonswangoil/photos/a.456730298009353/456736108008772

Show More

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button