สาระน่ารู้

สารอาหารจากลูกพลับ ที่มีสรรพคุณเพียบ

คาดว่าหลาย ๆ ท่าน คงจะเคยได้ลิ้มลองลูกพลับ ผลไม้แสนอร่อยมาบ้างแล้ว นอกจากความหอมแล้ว
ก็ยังมีรสหวานฉ่ำ เพิ่มความสดชื่น แถมยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ที่มีผลดีกับร่างกายของเราอีกด้วย

ลูกพลับ ทั่วทั้งโลกมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่มีปลูกในประเทศส่วนมากมักจะมาจากจีนและ
ประเทศญี่ปุ่น มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า มีการกินพลับตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นเลยทีเดียว
ซึ่งต่อมา ก็ได้เมล็ดพันธุ์เข้าไปปลูกในดินแดนอาทิตย์อุทัย และได้รับความนิยมต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

สารอาหารที่พบใน ลูกพลับพันธุ์คาขิ (สปีชีส์ที่นิยมปลูกที่สุดในไทย)

พลังงาน = 70 กิโลแคลอรี // คาร์โบไฮเดรต = 18.59 กรัม // น้ำตาล = 12.53 กรัม // เส้นใย = 3.6 กรัม // ไขมัน = 0.19 กรัม
// 
โปรตีน = 0.58 กรัม // เบตาแคโรทีน = 253 ไมโครกรัม // ลูทีนและซีแซนทีน = 834 ไมโครกรัม // วิตามินเอ = 81 ไมโครกรัม
// 
วิตามินบี 1 = 0.03 มิลลิกรัม // วิตามินบี 2 = 0.02 มิลลิกรัม // วิตามินบี 3 = 0.1 มิลลิกรัม // วิตามินบี 6 = 0.1 มิลลิกรัม //
วิตามินบี 9 = 8 ไมโครกรัม // และ โคลีน = 7.6 มิลลิกรัม (ตัวเลขทางโภชนาการที่พบจาก พลับ 100 กรัม)

สรรพคุณทางยาโดยรวม ของลูกพลับ  (ผลดิบ ผลสด ผลแห้ง)

เส้นใยอาหารมาก // แคลอรีและไขมันต่ำ // มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ //
ช่วยบำรุงสายตา // ป้องกันต้อกระจก // ช่วยบำรุงลำไส้ ปอดและม้าม // ลดอาการกระหายน้ำ // บรรเทาอาการเจ็บคอ // ช่วยแก้ไอ //
ขับเสมหะ // แก้หืดหอบ // ลดความดันโลหิต // บรรเทาอาการของโรคหัวใจและปอด // ลดอาการไอ และการหายใจติดขัด

ใช้เป็นยาบรรเทาอาการร้อนใน // ใช้ทำยาแก้อาการสะอึก // บรรเทาอาการไข้ // ช่วยแก้พิษสุรา // ช่วยแก้อาการท้องเดิน //
บำรุงกระเพาะอาหารและลำไส้ // ลดการปวดท้อง ที่เกิดจากความเย็น // ช่วยแก้โรคทางกระเพาะอาหาร // 
แก้อาการบิดในเด็ก
// ช่วยในการขับถ่าย ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง // ลดอาการถ่ายเป็นเลือด 
// บรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร //
ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด // ช่วยแก้ต่อมไทรอยด์บวม // มีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด // ช่วยลดผื่น ที่เกิดจากความร้อน
// ช่วยในการขับพิษจากเหล้า ที่ทำให้มีการอาเจียนเป็นเลือด // และยังมีสรรพคุณในการช่วยลด ฝ้า กระ ที่อยู่บนใบหน้า

นอกจากนี้แล้ว พลับ ยังเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเจริญเติบโตได้ดี
ในพื้นที่สูง จึงได้รับความนิยมที่จะเพาะปลูก โดยเฉพาะ บ้านแม่แฮ ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
เนื่องจากได้รับการส่งเสริม จากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ เพื่อสร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น

โดยเริ่มจาก มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ นำพลับสายพันธุ์ต่าง ๆ มาทดลองปลูก.และศึกษาวิจัย
ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ที่สถานีวิจัยดอยปุย จ.เชียงใหม่ และขยายไปยังพื้นที่อื่น 
เช่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยส้มป่อย .ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ เชียงใหม่ .สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง. สถานี
เกษตรหลวงอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
และ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง จ.เชียงราย จวบจนถึงทุกวันนี้

data : https://medthai.com/ลูกพลับ/https://www.jgbthai.com/fuyuu-kaki/
& https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_79985

photo – https://www.treehugger.com/how-eat-persimmon-pro-4858784
photo – https://www.healthline.com/nutrition/persimmon-nutrition-benefits
photo – www.azurestandard.com/healthy-living/what-persimmon-how-to-eat-persimmons/

COVER – http://www.arroyomonthly.com/wp-content/uploads/2017/10/Kitchen_web_Nov2017.jpg

Show More

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button