มูลนิธิปิดทองหลังพระ ..ทำอะไรเอาไว้บ้าง

งบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันฯ.กับงบประมาณแผ่นดิน ที่จัดสรรไปสนับสนุนปีละ 300 ล้านบาท
มีผลงานอะไรที่ประเทศชาติได้รับกลับมา? ลองทำความรู้จักกับมูลนิธิแห่งนี้กันหน่อยครับ
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ
สืบสานแนวพระราชดำริ ได้พัฒนาต่อเนื่องมาจาก โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ซึ่ง
ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ในขณะนั้น โครงการปิดทองหลังพระฯ มีพันธกิจตามมติคณะรัฐมนตรี คือ
เพื่อฉลองพระชนมายุครบ 80 และ 84 พรรษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อให้ประชาชนสามารถเรียนรู้
และสร้างประสบการณ์ตรงจากแนวทางโครงการพระราชดำริ เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้ง
ได้ส่งเสริมการเรียนรู้ ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพิ่ม
มากยิ่งขึ้น เพื่อที่ยกจะระดับฐานะความเป็นอยู่ และส่งเสริมอาชีพของประชาชน รวมไปถึงส่งเสริมความรู้
ความเข้าใจ และ กระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมไทย
————————————————————————
การดำเนินภารกิจต่าง ๆ ของโครงการปิดทองหลังพระฯเพื่อสืบสานแนวพระราชดำริ ให้ขยายผลสู่ชุมชน
ท้องถิ่นอย่างกว้างขวางเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน แต่กลับมีข้อจำกัดเพราะ เป็นหน่วยงานย่อยใน
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ดังนั้นเพื่อให้มีหน่วยงานเฉพาะรองรับ
ภารกิจสืบสานแนวพระราชดำริ ให้ขยายผลสู่ชุมชนได้อย่างกว้างขวาง ‘คณะรัฐมนตรีจึงมีมติในที่ประชุม’
เมื่อ 24 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบให้ สนง.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้ง “มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบ
สานแนวพระราชดำริ” และ “สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ”
ทั้งนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ณ วันที่ 20 มกราคม 2553
–ตัวอย่างของโครงการที่ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาและต่อยอด–
โครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดน่าน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รายละเอียดเข้าไปดูที่ลิงค์นี้ ⇒ http://www.pidthong.org/main-project.php?id=1&menu_id=1#.X82_1FUzbIU
โครงการบริหารการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อุดรธานี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รายละเอียดเข้าไปดูที่ลิงค์นี้ ⇒ http://www.pidthong.org/main-project.php?id=2&menu_id=1#.X82_51UzbIU
โครงการพัฒนาแก้มลิงหนองเลิงเปือย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
รายละเอียดเข้าไปดูที่ลิงค์นี้ ⇒ http://www.pidthong.org/main-project.php?id=4&menu_id=1#.X82__VUzbIU
แผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ บ้านโป่งลึก บางกลอย แก่งกระจาน เพชรบุรี
รายละเอียดเข้าไปดูที่ลิงค์นี้ ⇒ http://www.pidthong.org/main-project.php?id=6&menu_id=1#.X83AFVUzbIU
โครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ ต.แก่นมะกรูด อ.บ้านไร่ จ. อุทัยธานี
รายละเอียดเข้าไปดูที่ลิงค์นี้ ⇒ http://www.pidthong.org/main-project.php?id=7&menu_id=1#.X83AIlUzbIU
–ผลงาน จากการดำเนินงานโดยมูลนิธิปิดทองฯ ที่เป็นรูปธรรม–
การประเมินผลการดำเนินงานของ ”มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” โดยองค์กรภายนอกและ
สถาบันการศึกษา (Third Party) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล
และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พบว่า พื้นที่ต้นแบบ นั้นประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามภูมิสังคมของ
พื้นที่แต่ละแห่ง ซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการทำงานของปิดทองหลังพระฯ ที่ปฏิบัติงานโดยน้อมนำหลักการทรงงาน
“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และ “ช่วยให้เขาพึ่งตนเองได้” เป็นหลัก รวมทั้งการที่ได้น้อมรับเอา ”ศาสตร์พระราชา”
เป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาทั้ง 6 มิติ คือ ดิน น้ำ ป่า เกษตร สิ่งแวดล้อม และพลังงาน จากการประเมินพบว่า
–มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ 275,714 ไร่
จากการร่วมกันของชุมชน และราชการพัฒนาแหล่งน้ำและสร้างฝาย จำนวน 6,259 แห่ง
–รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรเพิ่มขึ้น จากเมื่อเริ่มโครงการปี 2553 มูลค่า 109 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นเป็น 2,676 ล้านบาท ต่อปี (ข้อมูลปี 2563) คือมีความเติบโตเพิ่มขึ้น 2,450%
–รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สูงกว่าครัวเรือนในพื้นที่ ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมโครงการ
ที่มีนัยสำคัญคือ 134,890 บาท (คิดเป็นร้อยละ 64) และผ่านพ้นเส้นความยากจนแล้วร้อยละ 74
–เกิดพื้นที่ป่าและป่าเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นรวม 106,580 ไร่ (จังหวัดน่าน เพชรบุรี และอุทัยธานี)
–การพัฒนาอาชีพทางเลือก ทำให้เกิดกลุ่มกองทุนที่บริหารจัดการโดยชุมชน
จำนวน 66 กลุ่ม มีสมาชิก 2,150 ครัวเรือน มีเงินในกองทุนหมุนเวียน 12 ล้านบาท
ประการสำคัญคือ แนวปฏิบัติของมูลนิธิปิดทองหลังพระ “ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานของราชการ”
แต่มุ่งที่จะสร้าง การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน เพื่อให้มีการต่อยอดและขยายผลต่อ โดยหน่วยราชการต่อไป
–ลำดับการจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ หมายถึง–
ต้นน้ำ : แหล่งองค์ความรู้ต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำริ ที่มีมากมาย อันประกอบไปด้วย
ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนา โครงการส่วนพระองค์ โครงการตามพระราชประสงค์
โครงการหลวง โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์
กลางน้ำ : ปิดทองหลังพระฯ มีบทบาทเป็นสะพานเชื่อม ระหว่างต้นน้ำกับปลายน้ำ โดยมุ่งเน้น
ไปในทางด้านการจัดการความรู้ การส่งเสริมการพัฒนา และการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ
ปลายน้ำ : การบูรณาการระดับพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัด เพื่อจะนำองค์ความรู้จาก
โครงการพระราชดำริ นำมาเชื่อมโยงและปรับใช้ในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสมกับภูมิสังคม
และภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นไปยังเป้าหมายหลักคือ ขอให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
นอกจากข้างต้นแล้ว ก็ยังมีผลงานมากมาย เกินกว่าจะกล่าวได้ในบทความเดียวได้
ซึ่งก็ยังมีแผนงาน ที่กำลังดำเนินการเพื่อประเทศชาติอีกหลากหลายโครงการ เช่น
–ทุเรียนคุณภาพ เพิ่มรายได้ ขยายตลาด ที่ดำเนินการในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
–ผลงานพัฒนาในพื้นที่ต้นแบบ สี่จังหวัดชายแดนภาคเหนือ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด
–โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฐานราก เพื่อบรรเทาผลกระทบการว่างงาน จากโควิด-19
และนี่ ไม่ใช่ข้อมูลปิด ที่เป็นความลับแต่อย่างใด เพราะมีเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ
ผลการดำเนินงาน 10 ปี. ⇒ .http://www.pidthong.org/event-detail.php?id=266#.X83VGVUzbIU
ติดตามข้อมูลข่าวสารจากมูลนิธิได้ที่ เว็บไซต์ : http://www.pidthong.org/main.php
เฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/pidthong –หรือ- ยูทิวบ์ : PIDTHONGCHANNEL
ซึ่งปัจจุบัน ในหลวง รัชกาลที่ 10 ได้ทรงงานสืบสานตามพระราชปณิธาน บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับราษฎร
ตามที่มี พระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งได้ทรงพระราชทานอารักขา แก่พสกนิกรของพระองค์ท่าน ความว่า..
“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”
บางคนอาจจะไม่เคยทราบว่า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงงานหนักมากมาโดยตลอด
โดยพระองค์ท่านได้ทรงงานด้วยวิธีการอันเป็นแบบฉบับเฉพาะพระองค์ เพื่อความสุขของประชาชนคนไทย
ข อ พ ร ะ อ ง ค์ ท ร ง พ ร ะ เ จ ริ ญ ยิ่ ง ยื น น า น !