เปรียบเทียบการหาหมอของแต่ละประเทศ
การเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประชาชน ในแต่ละประเทศ ย่อมจะมีความแตกต่างกันไป
บางท่านอาจคิดว่า.. ในประเทศที่มีความศิวิไลซ์กว่า มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีกว่า
มันจะต้องดีกว่าแน่นอน ‘ซึ่งไม่ได้เป็นความจริง’ หรือ ถ้ามันจะจริง ก็จริงเพียงแค่ครึ่งเดียว
ถ้าจะนับแค่ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในเชิงการแพทย์ สำหรับบางประเทศนั้น
ผมคงไม่เถียงหรอกว่าบ้านเขา มีศักยภาพสูงกว่าบ้านเราจริง ๆ .แต่โปรดอย่าลืมนะครับว่า
ระบบบริการมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เช่นนี้แล้ว ก็ต้องนำทั้งสองเรื่องนี้มาพิจารณาประกอบกัน
ส่วนการจะเข้าถึง การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานของประชากรแต่ละประเทศ
จะเป็นอย่างไรนั้น ลองเปิดใจแล้วก็อ่านกันดูครับว่า การแพทย์ก้าวหน้า แล้ว
การบริการ จะครอบคลุมอย่างทั่วถึง มันเป็นเพียงแค่อุปทานหรือเรื่องจริง ??
สหรัฐอเมริกา อาชีพแพทย์เป็นวิชาชีพ ที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง ค่ารักษาจึงแพงยับ
การเข้าพบแพทย์ ต้องไล่ไปตามลำดับชั้นอย่างไทย จากเล็กไปใหญ่ ตั้งแต่สถานีอนามัย
โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัด เมื่อมีมาตรฐานสูง มันก็ต้องจ่ายแพงเป็นธรรมดา
ถ้าไม่สบายขึ้นมานิดหน่อย เช่น ปวดหัว ตัวร้อน แล้วอยากไปหาหมอที่คลินิคชุมชนพื้นที่
ก็ไปได้ในเวลาเปิดทำการเท่านั้น สนนราคาคิดเป็นเงินไทย ก็สตาร์ทที่สามพันบาทขึ้นไป
อันนี้คือค่าหมอเองนะ ไม่เกี่ยวกับค่ายา และอีกเรื่องคือสถานพยาบาลที่นี่ไม่มียาขายครับ
สำหรับกรณีที่ต้องเข้ารักษาในแผนกฉุกเฉิน ก็เตรียมค่ารักษาไว้เลย 10 เท่า จากเรทปกติ
เพราะบุคลากรทางการแพทย์เขามีจำกัด การต้องแซงคิวของคนไข้อื่น ค่าใช้จ่ายต้องเพิ่ม
—
อังกฤษ การหาหมอที่นี่ ไม่ใช่แค่รู้สึกไม่สบาย และเดินทางไปโรงพยาบาลก็ได้รักษาเลย
ไม่เหมือนบ้านเรา ที่แค่โชว์บัตรทองก็รอคิวเลย ธรรมเนียมปฏิบัติของที่อังกฤษจะเริ่มด้วย
การสอบถามว่าเป็นอะไรมา แล้วได้นัดหรือยัง ‘ถ้ายัง’ ก็ต้องไปต่อคิว กรอกใบนัดล่วงหน้า
การรอนัดก็ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ถึง 2 สัปดาห์ เป็นอย่างน้อย ไม่ใช่แบบบ้านเรา ที่บางคนรอ
3 ชั่วโมง ก็รู้สึกเหมือนจะเป็นจะตาย ทุรนทุรายขึ้นมาเฉียบพลัน โอเคกลับไปที่อังกฤษต่อ
เมื่อได้พบหมอแล้ว วินิจฉัยแล้ว หมอก็จะจ่ายใบสั่งยา ซึ่งโรง’บาล ก็ไม่มียาขายอีกเช่นกัน
ที่ระบบเป็นแบบนี้เพราะ เขาต้องการบ่มเพาะนิสัยในการรักษาสุขภาพ และเป็นการแบ่งเบา
บุคลากรที่มีอยู่จำกัด เขามองว่าการไม่ยอมดูแลตัวเองให้ดี แล้วมาโรงพยาบาลพร่ำเพรื่อนี้
เป็นการผลักภาระมาให้โรงพยาบาล ซึ่งทุกคนมีงานล้นมืออยู่แล้ว ไหนจะเคสฉุกเฉินอีกล่ะ
—
เยอรมัน รากฐานของระบบสาธารณสุขของเยอรมนี ถือว่าเก่าแก่มากที่สุดในโลก เพราะได้
ริเริ่มเอาไว้ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1880 จึงทำให้มีศักยภาพสูง ถ้าจะบอกว่ามาตรฐานดีที่สุดในโลก
ก็ดูจะไม่เป็นการพูดเกินความจริง และประชากรที่นั่นหากมีสวัสดิการรัฐ ก็เข้ารับรักษาฟรี ๆ
แต่ไม่ใช่ว่าอยากหาหมอ ก็เดินดุ่ย ๆ ไปได้เลย เพราะต้อง ‘มีการนัดล่วงหน้า’ เอาไว้แล้วฮะ
ซึ่งตามปกติก็จะใช้เวลาราว ๆ หนึ่งสัปดาห์หรือมากกว่า แต่ก็มีอีกหนทางนึงที่จะพบหมอไว
คือซื้อประกันสุขภาพระดับพรีเมี่ยมไว้ และถ้าซื้อแล้ว จะไปทำตัวเป็นพ่อของหมอไม่ได้นะ!
สำหรับนักท่องเที่ยว ถ้าเกิดดันไปเจ็บป่วยแล้วต้องผ่าตัด บางทีอาจถึงขั้นล้มละลายได้เลย
จีน โรงพยาบาลของรัฐบาลหลาย ๆ แห่ง เขาจะมีระเบียบ จ่ายเงินไปก่อนค่อยรักษาทีหลัง
เพียงแค่เดินไปกดบัตรคิวก็ต้องเสียเงินค่ากดบัตรแล้ว ประมาณ 5 หยวน แล้วก็ไม่ต้องกลัว
เขาเตรียมเครื่องรูดบัตรไว้แถวนั้นเรียบร้อย หากไม่จ่าย บัตรคิวก็ไม่ออกนะเออ ที่เป็นเช่นนี้
เพราะเขาป้องกันการกดบัตรคิวพร่ำเพรื่อ ซึ่งมันสร้างความล่าช้า ให้เกิดขึ้นกับโรงพยาบาล
ส่วนขั้นตอนการรักษาของโรงพยาบาลรัฐ ก็จะมีค่าใช้จ่ายจุกจิก โดยต้องมีการจ่ายเงินก่อน
เช่น ถ้าต้องเอ็กซเรย์ ก็ต้องจ่ายเอ็กซเรย์ก่อน ถึงจะเอ็กซเรย์ได้ และเกิดจะต้องมีการฉีดยา
ก็ต้องจ่ายก่อน แล้วฉีดทีหลัง ..ที่นี้เขาเป็นแบบนี้ ถึงโพสต์บ่นลงโซเชียล มันก็ไม่ช่วยอะไร
—
เกาหลีใต้ โรงพยาบาลของที่นี่ หยุดเสาร์-อาทิตย์ นะครับ แล้วก็เปิดเฉพาะเวลาทำการด้วย
แถมมีพักเที่ยงอีกต่างหาก เพราะบุคลากรทางการแพทย์ ก็คือคนเหมือนกัน ต้องกินข้าวนะ
ส่วนเวลากลางคืนก็ปิดทำการ แต่ก็มีแผนกฉุกเฉินสแตนบายไว้ ในราคาฉุกเฉิน โอเคไหม?
สำหรับโรงพยาบาลสวัสดิการ เขาไม่มีรถเข็นวีลแชร์ให้นะฮะ ถ้าเจ็บแขนเจ็บขา เดินไม่ไหว
ท่านก็ต้องลากสังขารไปเอง ไม่มีใครมาบริการให้ ถึงจะเป็นของรัฐ ค่าใช้จ่ายก็ไม่ใช่ 30 นะ
—
ญี่ปุ่น ที่นี่สำหรับชาวต่างชาติเขาไม่รับรักษากันง่าย ๆ ถ้าทางโรงพยาบาลประเมินว่า เขาไม่
สามารถสื่อสารกับคนไข้ได้ จะไม่รับเด็ดขาด เพราะถ้าคนไข้เป็นอะไรขึ้นมา หมอต้องติดคุก
โรงพยาบาลที่ญี่ปุ่นนี่ เปิดเฉพาะวันและเวลาทำการนะฮะ ถ้าใครซวย เกิดป่วยตรงวันหยุดนี่
ต้องเป็นเคสฉุกเฉิน ซึ่งจะฉุกเฉินก็ต่อเมื่อท่านเรียกรถพยาบาล (จ่ายเพิ่มน๊า) และก็ไม่ใช่ว่า
มีสิทธิ์เลือกนะ ขึ้นอยู่กับว่า ทางศูนย์เขาเช็กแล้วว่าควรจะไปเข้าที่ไหน ตามความเหมาะสม
ส่วนเรื่องของค่าใช้จ่ายสำหรับพลเมืองเขา บอกเลยว่า ฟรี! แต่สำหรับชาวต่างชาติ ก็รู้ ๆ อยู่
แต่ก็พอจะมีตัวช่วยอยู่บ้างคือ ถ้าได้ลงทะเบียนประกันสุขภาพแห่งชาติ (ที่ญี่ปุ่น) ไว้ล่วงหน้า
ก็จะเกิดความคุ้มครองเรื่องค่ารักษา (ที่แพงหูฉี่) ให้กับเรา ราว ๆ 70 – 80 % (จ่ายเอง 20 %)
กลับมาดูที่ ”สยามประเทศ” นะ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ทั้งหลาย
ขอบอกตรง ๆ เลยละกันนะ สวัสดิการการรักษาพยาบาลของไทยเนี้ย ถือว่าสบายโคตร ๆ สำหรับคนที่เดินทาง
ไปต่างประเทศบ่อย ๆ คงจะทราบดี สวัสดิการพื้นฐานของเรา แทบจะทำให้ฟรี ๆ เกือบทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็น
บัตรทอง ประกันสังคม ต่อให้ท่านไม่ได้ซื้อประกันเพิ่ม ก็สามารถเข้าถึงการรักษาพื้นฐานที่ดีได้ (โอ้ โหหหหห)
หนำซ้ำ ประเทศเราก็มีบริการคลินิกนอกเวลา โดยที่ไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้าเป็นสัปดาห์ หรือหลาย ๆ สัปดาห์
เพียงแค่ย่างเท้าก้าวเข้าไป ณ สถานพยาบาล ก็สามารถเข้าถึงบุคลากรทางการแพทย์เพื่อขอปรึกษาได้เลยฮะ
แต่ก็ต้องทำใจเรื่องรอคิวหน่อย แต่ถ้าอึดอัด จะตีโพยตีพายลงสื่อโซเชียลก็ได้ เพราะที่นี่ หมอไม่ค่อยฟ้องกลับ
สำหรับผู้ที่ป่วยฉุกเฉิน เมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน เราจะคุ้นตา ที่ได้เห็นพวกรถกู้ภัยอย่างน้อย ๆ 2 คัน มาช่วย
ปฐมพยาบาลอย่างรวดเร็ว พร้อมพาไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ต้องควักเงินเพิ่ม เป็นไงมั่ง พอเห็นภาพรวมรึยัง?
สุดท้ายก็จะเป็นเรื่องของเหล่าบรรดายารักษาโรค ที่ไม่ต้องถ่อไปซื้อที่อื่นให้เสียเวลา เพราะจบในที่เดียวได้เลย
source by https://www.facebook.com/somkiat.osotsapa
source by https://www.facebook.com/preenpichayaporn/
source by https://annyeongoppa.com/2020/06/25/the-psyc..
source by https://www.tcijthai.com/news/2017/03/scoop/7307
ข้อมูลบุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาล ทั่วประเทศ ณ ปัจจุบัน (25/12/2563) ที่พร้อมจะสู้ภัยโควิด-19