สาระน่ารู้

การค้นพบต่อมน้ำลายแห่งใหม่ ของมนุษย์

ความซับซ้อนของมนุษย์ยังคงถูกหาคำตอบอยู่เสมอ และก็ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดง่าย ๆ
ทุกกระบวนการทำงานของอวัยวะทั้งภายในและภายนอก ยังคงมีปริศนาใหม่ให้ศึกษา
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ (ต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา) ได้มีการค้นพบ “ต่อมน้ำลาย” เพิ่มอีก 1 คู่
/////////////////////
เรื่องที่เกิดเริ่มจากความบังเอิญของ ศัลยแพทย์ชาวเนเธอร์แลนด์ และทีมงานของเขา
ในระหว่างที่กำลังรักษาคนไข้รายหนึ่ง ด้วยการสแกนใบหน้าของผู้ป่วย ซึ่งได้มีการฉีด
สารบางชนิด ที่ทำหน้าที่ในการจับกับโปรตีน เพื่อที่จะได้ผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้น
////////////////////////
เทกนิกนี้เมื่อเข้าสู่ระบบสแกน ผลที่ออกมาคือมันจะบ่งชี้ไปถึงเนื้อเยื่อที่ต้องการค้นหา
และปรากฏว่า มีการเรืองแสงขึ้น บริเวณด้านหลังของโพรงจมูกซึ่งเชื่อมต่อกับคอหอย
ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่างมากกับต่อมน้ำลาย เพื่อความแน่ชัดทางทีมแพทย์จึงได้
ทำการพิสูจน์ด้วยวิธีการเดียวกันนี้อีกจำนวน 100 ราย ซึ่งได้ผลออกมาเหมือนกันหมด
..
..
ตำแหน่งที่พบ อยู่บริเวณตำแหน่ง ทอรัสทูเบอเรียส (ศัพท์กายวิภาค) ทีมนักวิจัยจึงได้
ตั้งชื่อว่า ต่อมทูเบอเรียล ซึ่งนับเป็นต่อมน้ำลายคู่ที่สี่ของมนุษย์ ที่เพิ่งจะมีการค้นพบ
โดย Matthijs H.Valstar และ Wouter Vogel แพทย์มะเร็งรังสีวิทยา ของเนเธอร์แลนด์
/////////////////////////////////
ข้อดีของการค้นพบในครั้งนี้คือ นับเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่จะสามารถช่วย
ยกระดับการรักษาขึ้นอีกก้าว เนื่องจากที่ผ่านมานั้น ไม่มีใครเคยทราบมาก่อนว่ามันคือ
ต่อมน้ำลายดังนั้นการที่จะฉายรังสีก่อนหน้านี้อาจส่งผลกระทบโดยที่ไม่มีใครที่ทราบ
///////////////
จากการวิจัยต่อเนื่องได้พบว่า หากมีการฉายแสงไปโดยต่อมน้ำลายตรง ๆ จะส่งผลให้
เกิดอาการช่องปากแห้งของผู้ป่วยในขณะรักษา ทำให้เกิดปัญหาต่อ การพูด และกลืน
เช่นนี้แล้วจึงทำให้แพทย์รังสีต้องหลีกเลี่ยงและเพิ่มความระมัดระวังการวางแผนรักษา
ผู้ที่ป่วย ถึงแม้จะดูยุ่งยากขึ้น แต่ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับคนไข้เอง ครับ!
..
..
ขอขอบคุณข้อมูลจาก. ศุภกิจ พัฒนพิฑูรย์ .และ. อาจวรงค์ จันทมาศ
..
credit : https://www.hindustantimes.com/static/ht2020/10/2210pg2b.jpg
credit : https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0167814020308094?

credit : https://www.nki.nl/news-events/news/cancer-researchers-discover-new-salivary-gland/

..
Show More

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button