สาระน่ารู้

ประโยชน์ของผักกาดหอม

ผักกาดหอมเป็นผักที่มีแคลอรีต่ำ จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก การรับประทานผักกาดหอมร่วมกับแคร์รอตและผักโขมจะช่วยบำรุงสีของเส้นผมให้สวยงามได้

ผักกาดหอมเป็นผักที่นิยมบริโภคใบ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เป็นผักที่นิยมบริโภคมากที่สุดในบรรดาผักสลัด และยังนิยมนำมารับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย สำหรับคนไทยแล้วจะนิยมใช้รับประทานกับอาหารจำพวกยำต่าง ๆ เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู เป็นต้น
นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารที่ดีแล้ว ยังนิยมนำมาใช้ตกแต่งอาหารเพื่อให้มีสีสันสวยงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น
ปัจจุบันมีการใช้ยาง (Latex) ที่สกัดจากผักกาดหอมออกมาจำหน่ายในรูปแบบยา มีทั้งชนิดน้ำและแบบชนิดเม็ด

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม (ชนิดใบสีเขียว) ต่อ 100 กรัม

พลังงาน 15 กิโลแคลอรี
คาร์โบไฮเดรต 2.87 กรัม
น้ำ 94.98 กรัม
น้ำตาล 0.78 กรัมรูปผักกาดหอม
เส้นใย 1.3 กรัม
ไขมัน 0.15 กรัม
โปรตีน 1.36 กรัม
วิตามินเอ 7,405 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.07 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.08 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.375 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 0.09 มิลลิกรัม
วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม
วิตามินซี 9.2 มิลลิกรัม
วิตามินอี 0.22 มิลลิกรัม
วิตามินเค 126.3 ไมโครกรัม
ธาตุแคลเซียม 36 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 0.86 มิลลิกรัม
ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 29 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม
ธาตุโซเดียม 28 มิลลิกรัม
ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม

สรรพคุณของผักกาดหอม

ผักกาดหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)
น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น) ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย

โดย ดร.ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ระบุว่าในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสด ๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง

ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดหรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง น้ำคั้นจากใบช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ) น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ) เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นรับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด, ต้น) น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ) ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น) การรับประทานผักกาดหอมจะช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้ (ทั้งต้น) น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้เป็นยาระบายได้ (ทั้งต้น) ช่วยขับลมในลำไส้ (น้ำคั้นจากทั้งต้น) ช่วยขับพยาธิ (น้ำคั้นจากทั้งต้น) ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ, เมล็ด) ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เมล็ด) เมล็ดผักกาดหอมใช้รักษาโรคตับ (เมล็ด) น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้ทาฝีมะม่วงที่รีดเอาหนองออกแล้วได้ (ทั้งต้น) ช่วยระงับอาการปวด (เมล็ด) ช่วยแก้อาการปวดเอว (เมล็ด) เมล็ดผักกาดหอมช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด)

Show More

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button