ถึงร่างกายยังฟิต! ก็เสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้

ผลจากข้อมูลในการทำสถิติได้พบว่า มีการเสียชีวิตเฉียบพลัน ในกลุ่มของนักกีฬา หรือผู้เล่นกีฬา ที่ดูแข็งแรงดี
ประมาณ 1 : 15,000 ถึง 1 : 150,000 ภายในหนึ่งปี ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรประมาท รวมไปถึง –ผู้ที่กำลังเริ่มเล่น–
คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า การออกกำลังกาย เป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพ แต่หากคุณกำลังใส่ใจ ที่จะหันมาเล่น
กีฬาชนิดใดก็ตาม หรือ เพิ่งเริ่มออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพก่อน ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ไม่เกินเลย
ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจตามมา เพราะกีฬาบางอย่าง ก็ไม่ได้เหมาะกับคนทุกวัย เช่นการวิ่ง
แต่เดี๋ยวนะครับวัยเก๋าทั้งหลาย! ผมไม่ได้ห้ามไม่ให้วิ่งแต่ประการใด แต่ต้องวิ่งอย่างไรถึงจะเหมาะสม
อันนี้ต่างหาก ที่กำลังอยากจะบอกกับทุก ๆ ท่าน ทั้งวัยเก๋า และ วัยกำลังเก๋า รวมถึงวัยก่อนจะเก๋าด้วย
แล้วการตรวจสุขภาพก่อนการออกกำลังกาย มันจะมีอะไรบ้าง ?
..
—การซักประวัติ เพื่อประเมินระดับความหนักเบา ว่าควรจะเล่นแค่ไหนจึงจะไม่เป็นการหักโหม
—การสอบถามอาการ เรื่องหน้ามืด เป็นลม เเน่นหน้าอก ใจสั่น ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ
—การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะระบบการทำงานหัวใจและหลอดเลือด ว่าปกติมากน้อยแค่ไหน
—การทำแบบประเมินมาตรฐาน อาทิ PAR-Q+ (Physical Activity Readiness Questionnare Plus)
—การตรวจเพิ่มเติม เพื่อดูปัจจัยเสี่ยงในโรคหัวใจ เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ค่าไขมันในเลือด
และในบางกรณี เมื่อพบข้อบ่งชี้ อาจต้องส่งตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม
เช่น.. Exercise stress test , Echocardiogram , Cardiac imaging
แล้วแบบไหนบ้าง ที่อาจจะเข้าข่ายว่าเป็นผู้ที่มีความสุ่มเสี่ยง ?
..
—ผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่า เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย มาก่อน
—ผู้ที่แพทย์วินิจฉัยว่า เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด หัวใจล้มเหลว หรือ
โรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมกับหัวใจขาดเลือด มีการเต้นหัวใจผิดปกติรุนแรง รวมทั้งผู้ที่หัวใจเต้นผิดปกติ
—ผู้ที่มีอาการที่เข้าได้กับโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เจ็บบริเวณกราม หรือ
เหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก เวลานั่ง เวลานอนราบ เวลาออกกำลังกาย เวลายกของหนัก และเวลาโมโห
—ผู้ที่หายใจไม่สะดวกเวลากลางคืน จนต้องตื่นลุกมานั่งหายใจ, ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นผิดจังหวะ, รู้สึกเวียนศีรษะ
คล้ายจะเป็นลมหรือเคยหมดสติ โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย หรือในเวลาที่มีการลุกเปลี่ยนอิริยาบถกระทันหัน
—ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรม เช่น มีประวัติครอบครัวญาติสายตรง (ชายน้อยกว่า 55 ปี / หญิงน้อยกว่า 65 ปี)
ป่วยหรือตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันผิดปกติ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
=====================================================================
credit : https://www.phyathai.com/article_detail/3235/th/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0…
credit : https://obs.line-scdn.net/0h9HCLHj_yZmd-NU2e5FIZMERjZQhNWXVkGgM3ZCJE…
credit : https://content.active.com/Assets/Active.com+Content+Site+Digital+Assets/Art…
credit : https://www.ctvnews.ca/polopoly_fs/1.4886699.1586285845!/httpImage/image.j…
=====================================================================