สาระน่ารู้

ลองทำความรู้จักมอร์ฟีนในมิติของแพทย์

มันคือยาแรงที่ไม่ได้ใช้พร่ำเพรื่อ ..เพราะมันใช้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน ของผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ใช่แล้วล่ะครับ ผมเขียนให้มันดูน่าสะพรึงกลัว ถึงแม้ว่าอาจจะดูเกินเลยไปบ้าง แต่มันก็น่ากลัวจริง ๆ สาบานได้

วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับมอร์ฟีน ลองทำความรู้จักกันหน่อย แต่อย่าไปทำความคุ้นเคยเลยครับ ขอร้อง

..

1. มอร์ฟีน (Morphine) จัดให้เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มของ Strong opioid
(ซึ่งมียาอื่นในสายนี้ เช่น Fentanyl) และ gold-standard drug ของตัวยาในกลุ่มนี้

2. เมื่อยาสู่ร่างกาย จะถูกเปลี่ยนเปลี่ยนเป็น Active metabolite คือ..
morphine- 3-glucuronide and mophine- 6- glucuronide (M3G and M6G)
ด้วย UDP- glucuronyl transferase ที่ตับ ดังนั้นถ้าคนไข้ไข้ตับไม่ดีต้องระวังในการใช้ยา

3. ในส่วนของ M3G and M6G เมื่อดูดซึมแล้ว จะถูกขับออกทางไต ซึ่งถ้าไตไม่ดี
จะทำให้เกิด Side effect เช่น sedation ได้ง่าย ต้องดูค่า eGFR ของคนไข้ร่วมด้วยทุกครั้ง

4. M3G ค่อนข้างมี very low affinity ต่อ opioid receptors
ดังนั้นตัว Active metabolite หลักที่จะออกฤทธิ์แก้ปวดได้คือ M6G

5. Morphine ที่ถูก Metabolite แล้วจะจับกับ Opioid receptor
คือ Mu(u) Kappaและ Delta โดย u เป็น receptor หลักในการลดอาการปวด

5.1 เมื่อจับกับ u receptor ที่ Cortex, thalamus, insula nucleus accumbens,
periaqueductal gray, amygdala, spinal cord, dorsal root และ peripheral nerve จะช่วยลดอาการปวด

5.2 u receptor ที่ GI Tract ทำให้เกิดท้องผูก และคลื่นไส้อาเจียน
จึงจำเป็นต้องให้ยาระบายคู่ด้วยเสมอ! และในคนที่มีคลื่นไส้อาเจียนก็ให้ยา antiemetics

5.3 u receptor ที่ pons และ thalamus ทำให้เกิด sedation ต้องประเมิน Sedation score หลังให้ยาคนไข้

6. ใช้รักษาอาการปวดรุนแรง (severe pain) Pain score คือมากกว่าหรือเท่ากับ 7 คะแนนขึ้นไป
ซึ่งถ้าหาก ปวดระดับ mild(1-3) ใช้ยากลุ่ม Nonopioid เช่น Paracetamol, NSAIDs moderate(4-6)
จะใช้ยากลุ่ม weak opioid +/- Nonopioid แต่ถ้าคนไข้มี Severe pain สามารถเริ่มยา Morphine ได้เลย

7. มอร์ฟีนในรูปแบบของ Intermediate-released ออกฤทธิ์ 4h คือ MO syrup (2mg/ml) และ
MO-IR tablet 10 mg // ส่วน
ยา Slow released คือ MST (10, 30, 60, 100 mg/tab) q 8-12h
และ Kapanol (20, 50, 100 mg/tab) q 12-24h 
ยาฉีด IV injection (10 mg/ml) จะออกฤทธิ์ 4h

***โดยทั่วไปจะสั่งยาตาม duration ของยาแต่ละตัว ดังนั้น เราจะไม่สั่ง MST กินทุก 4 หรือ 6 ชั่วโมง***

8. การเริ่มยา Morphine จะต้องให้ Background + Breakthrough pain เสมอ

9. ขนาดยา Background
ยาฉีด IV/SC 0.05-0.1 mg/kg q4h ถ้าเป็น MO naïve เริ่มด้วย 3 mg (Max 5-10 mg)
ยากิน PO 0.15-0.3 mg/kg q4h ถ้าเป็น MO naïve คือ ไม่เคยใช้ยามาก่อน เริ่มด้วย 5 mg (Max 10-15 mg)

10. ขนาดยา Breakthrough pain (BTP) จะให้ยากลุ่ม Intermediate-released ขนาดของยาจะเท่า ๆ กับ
Background หาร 6 q 2-4h เช่น ผู้ป่วยกิน MST(10) 1 tab po q 8h (Total 30 mg/day) BTP 30/6=5 mg
MOIR(10) ½ tab po prn for BTP q 2-4h หรืออาจเป็น MO syr.(2mg/ml) 2.5 ml po prn for BTP q 2-4h

11. เมื่อเริ่มใช้ยา ควรเริ่มจากขนาดน้อย ๆ ไปก่อน แล้วจึงค่อยปรับ titrate ”Start low Go slow”

12. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจปรับยาขึ้น 30-100% หรือ ปรับยาเพิ่มเท่ากับ MO
ที่ได้ใน 24h ที่ผ่านมา (Background + BTP) เช่น กิน MST(10) 1 tab po q 12h
แต่ยังปวดมาก อาจจะปรับเพิ่ม 50% (20–>30mg/day) เป็น MST(10) 1 tab po q 8h

13. ไม่มี Max dose เพิ่มขนาดยาได้ จนกว่าจะคลายความปวด

14. Conversion PO:IV = 3:1 เช่น กิน MST 30 mg/day จะเท่ากับ Morphine IV 10 mg/day

15. การปรับยา Morphine ตามไต ต้องดู eGFR >50 mL/min dose 100%
10-50 mL/min dose 50-75% <10 mL/min dose 25-50% เลี่ยงการใช้ หรือไปใช้ Fentanyl แทนก็ได้

..

นอกจากจะบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วยระยะท้าย  ยังเป็นยาแก้ปวดที่นิยมใช้ในผู้ป่วยผ่าตัดต่าง ๆ ด้วย

พวกคำศัพท์เฉพาะ อาจจะเยอะไปหน่อยสำหรับเนื้อหานี้ แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลเชิงลึก ก็เซิร์ชเอาเลยครับ!

credit – https://www.facebook.com/Morkonsutti/posts/183706629751739
credit – https://i.guim.co.uk/img/media/835bb44ac48ae14739d3b2ff129..

=========================================================================================================

 

 

Show More

บทความที่เกี่ยวข้อง

Back to top button