เชื่อหรือไม่ การนอนงีบ ทำให้ร่างกายเราดีขึ้น..

การนอนงีบ คือ การนอนหลับในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อชดเชยเวลานอนไม่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น เมื่อคุณรู้สึกง่วงระหว่างเวลาตื่น และการนอนงีบจะช่วยเพิ่มพลังให้กับสมอง และระบบภายในร่างกายของเรา ก็จะกลับมาเป็นปกติ ถึงแม้การนอนงีบจะอยู่ในช่วงเวลาระยะเวลาสั้น แต่ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณได้มากเลยทีเดียว โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน ได้เปิดเผยว่า ช่วงระยะเวลาของการนอนหลับ จะมีผลต่อสุขภาพ ทั้งด้านสมองและร่างกาย สามารถทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความตึงเครียด ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส นอกจากนี้ระบบร่างกายของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งบางคนอาจจะงีบหลับเพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น แต่สำหรับบางคนก็อาจจะนอนหลับลึกหลายนาทีเลยก็ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า “หลับลึก” โดยระยะเวลาของการนอนงีบในแต่ละช่วง จะมีผลต่อร่างกายที่ต่างกันอีกด้วย
ประเภทของการนอนงีบ
Planned napping เป็นการนอนงีบก่อนที่จะเข้าสู่การนอนหลับจริงๆ โดยการก่อนเข้านอนจะช้าหรือเร็วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกลไกของสมอง และความเหนื่อยล้าของร่างกาย
Emergency napping หากร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้ามาก เราจะรู้สึกง่วงเพลียและหมดสติไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการนอนงีบประเภทนี้ไม่ใช่การหลับเพื่อสุขภาพที่ดี เเต่เกิดขึ้นจากร่างกายอ่อนล้า และเหน็ดเหนื่อยจากการใช้พลังงานมากเกินไป
Habitual napping เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติสม่ำเสมอของการนอนงีบของแต่ละคนในแต่ละวัน โดยจะมีช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับวัยเด็กจะใช้เวลาในการนอนงีบประมาณช่วงบ่าย ส่วนวัยผู้ใหญ่มักจะใช้เวลานอนงีบช่วงสั้น ๆ หลังมื้ออาหารในแต่ละวัน
ช่วงระยะเวลาของการนอนงีบ
1) ระยะเวลา 10 – 20 นาที
เป็นระยะเวลานอนที่ช่วยเพิ่มพลังงาน และสร้างความสดชื่นให้กับร่างกาย เพราะเพียงแค่เวลา 10 – 20 นาที จะทำให้การนอนของเราอยู่ในช่วง non-rapid eye movement (NREM)
การนอนในช่วงระยะเวลานี้ จะเหมาะกับคนที่ต้องการตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง สมองปลอดโปร่ง หรือสามารถตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมได้หลายอย่าง โดยไม่ค่อยเกิดอาการมึนงง เช่น การนอนงีบเมื่อรอเวลาออกเดินทาง หรือรอใครสักคน เป็นต้น หากคุณตื่นขึ้นมาแล้ว ก็จะสามารถทำกิจกรรมนั้นต่อเนื่องได้ทันที จึงเรียกการนอนงีบในช่วงเวลานี้ กันว่า “Power nap” เป็นพลังของการนอนงีบ ที่ช่วยฟื้นฟูความอ่อนล้าให้กับร่างกาย
2) ระยะเวลา 30 นาที
การนอนช่วงระยะเวลาครึ่งชั่วโมง มักจะส่งผลไม่ค่อยดีต่อระบบร่างกาย ซึ่งนักวิจัยหลายท่านระบุไว้ว่า หากเรานอนในช่วงระยะเวลานี้ หลังจากตื่นขึ้นมาแล้ว จะมีอาการมึนงง ร่างกายยังคงง่วงอยู่ หรือบางคนอาจจะรู้สึกปวดหัวเล็กน้อยด้วย เพียงแค่เพิ่มขึ้นมา 10 นาทีเท่านั้น ก็เห็นผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
3) ระยะเวลา 60 นาที
หากคุณเลือกนอนงีบสักประมาณ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จะช่วยส่งผลต่อระบบความจำของคุณหลังจากตื่นขึ้นมา ทำให้สามารถจดจำแหล่งข้อมูลต่างๆได้ดีขึ้น การนอนด้วยเวลาเท่านี้จะทำให้สมองอยู่ในขั้น “slow-wave sleep” ก็คือ การหลับลึกในระดับนึง จนปล่อยให้เวลาผ่านไปประมาณ 30 นาที อาการเหล่านั้นจึงจะหายไป จึงเหมาะสำหรับคนที่ทำงานหนัก หรืออ่านหนังสือสอบจนร่างกายอ่อนเพลีย
4) ระยะเวลา 90 นาที
ช่วงนี้เป็นระยะเวลาการนอนที่สมองและร่างกายได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้เริ่มเข้าสู่ความฝัน สร้างความคิดและจินตานาการอย่างเต็มที่ หรืออยู่ในช่วง REM stage (Rapid Eye movement) จะช่วยทำให้สมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หลังจากคุณตื่นขึ้นมาแล้วจะอารมณ์ดี และมีความทรงจำแม่นยำขึ้น การนอนในช่วงนี้เท่านั้น จะช่วยทำให้คุณรู้สึกไม่ง่วงซึมหลังจากตื่นนอน
การนอนหลับ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบภายในร่างกาย ซึ่งภาวะของการอดนอน หรือนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเกิดโรคร้ายแรงตามมาภายหลังได้ เราจึงต้องมีการนอนงีบระหว่างวันในช่วงระยะเวลาที่พอเหมาะ จะสามารถช่วยเพิ่มอารมณ์ ความตื่นตัว และประสิทธิภาพของการทำงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการนอนงีบจึงเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต สามารถสร้างความรู้สึกตื่นตัว และเพิ่มความจำของสมองมากขึ้น เมื่อเทียบกับการไม่ได้นอนงีบเลย