จะเกิดภาวะอะไรขึ้น ถ้าไตรกลีเซอไรด์สูง

ตามปกติแล้วมักจะไม่ออกอาการใด ๆ ให้เห็นได้ชัด แต่จะเกิดความผิดปกติ ก็ต่อเมื่อ ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงเกินไป
จนอยู่ในระยะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น.. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ จะเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย เป็นต้น
ภาวะไตรกลีเซอไรด์ในเลือดที่สูงกว่าปกตินี้ เกิดจากมีไขมันชนิดหนึ่ง ที่เคมีในร่างกายของเราได้สังเคราะห์ขึ้นมา
เนื่องจากการบริโภคอาหารบางจำพวกมากเกินไป เช่น น้ำมัน เนย และไขมันต่าง ๆ และหากค่าไตรกลีเซอไรด์สูง
และไม่ได้รับการดูแล จนมีความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคหัวใจขาดเลือดได้
สาเหตุของไตรกลีเซอไรด์สูง
แม้จะยังไม่มีสาเหตุเป็นที่แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก็สามารถเร่งกระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น
• เช่นการรับประทานอาหารเกินกว่าที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน โดยเฉพาะน้ำตาลและไขมัน
• การเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคตับ โรคไต โรคไทรอยด์ หรือมีน้ำหนักตัวมากเกิน
• อาจจะเป็นเพราะการใช้ตัวยาบางชนิด
• เกิดจากกรรมพันธุ์ ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ
• ปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ และ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เป็นต้น
— — — — — — — — — — — — — — — — — —
ทั้งนี้ ผลของการตรวจเลือด เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ก็จะมีดังนี้
ระดับไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร = ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับปกติ
ระดับไตรกลีเซอไรด์ 150 – 199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร = ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับคาบเส้น
ระดับไตรกลีเซอไรด์ 200 – 499 มิลลิกรัม/เดซิลิตร = ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับสูง
ระดับไตรกลีเซอไรด์ 500 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป = ไตรกลีเซอไรด์อยู่ในระดับสูงมาก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง
ลดน้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งควรลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย
หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่น้อย
เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนไขมันต่ำ ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ เป็นต้น
ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 5 ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที เพราะการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
จะส่งผลดีต่อระดับไตรกลีเซอไรด์ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายมาเป็นเวลานาน
ให้เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจเริ่มจากการเดินเร็วสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น มะกอก ถั่ว น้ำมันคาโนลา
หรือ ปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 อย่างปลาแซลมอนและปลาแมกเคอเรล เป็นต้น
จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้มีทั้งแคลอรี่และน้ำตาลที่ส่งผลกระทบต่อระดับไตรกลีเซอไรด์
โดยการดื่มแอลกอฮอล์เพียงปริมาณน้อยก็สามารถเพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ให้สูงขึ้นได้
— — — — — — — — — — — — — — — — — —
credit >>> https://www.pobpad.com/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%fdei…
credit >>> https://images.medicinenet.com/images/article/proc/triglycerides.jpg
credit >>> https://businessfirstfamily.com/wp-content/uploads/2015/10/fast-fo…
credit >>> https://www.klinicapp.com/blog/wp-content/uploads/2018/04/triglyc..
— — — — — — — — — — — — — — — — — —