ภาวะของหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะที่ช่วยรองรับแรงกระแทกของร่างกาย แทรกอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ มีลักษณะคล้ายลูกโป่งใส่วุ้น จึงสามารถเปลี่ยนรูปร่างได้เล็กน้อยเมื่อได้รับแรงกด
หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เปลือกนอกของหมอนรองกระดูกฉีกขาด ทำให้ของกึ่งเหลวคล้ายวุ้น ที่อยู่ภายในเคลื่อนตัวออกมา แล้วไปกดทับเส้นประสาท จึงทำให้มีอาการดังต่อไปนี้
อาการปวดหลัง สะโพกและปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างรุนแรง อาการปวดมากขึ้นเวลาไอ หรือจาม
อาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพกกล้ามเนื้อในการกระดูกข้อเท้าและ ปลายนิ้วหัวแม่เท้า
อาการชาบริเวณปลายเท้า โดยเฉพาะบริเวณง่ามนิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วเท้าที่สอง
อาการผิดปกติของระบบขับถ่าย ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ จะมีความผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย เช่น ไม่สามารถควบคุมการอุจจาระหรือปัสสาวะได้ ซึ่งจำเป็นต้องผ่าตัดรักษาอย่างเร่งด่วน มิฉะนั้นระบบขับถ่ายอาจไม่สามารถฟื้นคืนได้ตามปกติ
..
สาเหตุของหมองรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เกิดจากความเสื่อมตามอายุของผู้ป่วย และ การได้รับแรงกระทำต่อกระดูกสันหลังที่มากเกินไป เช่น การเล่นกีฬา การยกของหนัก หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน
ในส่วนของการรักษา จะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง โดยผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อาจรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการรับประทานยาเพื่อประคับประคองอาการ ซึ่งหากผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีการผ่าตัด โดยต้องผ่านการคัดกรอง และประเมินจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อน
นอกจากการรักษาด้วยการใช้ยา และการผ่าตัดแล้ว ผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาท ก็ควรดูแลตัวเองด้วยวิธีดังนี้
รักษาโดยการลดน้ำหนัก และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเพิ่มขึ้น เช่น ห้ามยกของหนัก ห้ามนั่งรถยนต์เป็นระยะเวลานาน ๆ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงทั้งหลาย ที่จะทำให้มีอาการท้องผูก เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระแรง ๆ จะทำให้มีไปเพิ่มแรงดันในหมอนรองกระดูกเพิ่มมากขึ้น จนเทำให้หมอนรองกระดูกรับแรงดันไม่ไหว แล้วอาจเกิดการแตกของหมอนรองกระดูกตามมา
กายภาพบำบัดและใช้เสื้อพยุงหลัง ช่วยในการลดอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ได้ปกติเร็วขึ้น หลักการของการใส่เสื้อพยุงหลัง ของผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท คือ การทำให้หน้าท้องกระชับขึ้น ส่งผลให้มีการลดความเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง เพื่อช่วยการลดแรงดันที่อาจเกิดขึ้นได้ในหมอนรองกระดูก จึงสามารถทำให้อาการปวดลดลงได้